ทำความรู้จักกับพุกเหล็ก

พุกเหล็ก คืออะไร

พุกเหล็ก เป็นพุกที่ได้รับความนิยมและใช้กันอย่างแพร่หลาย ในหลากหลายงานก่อสร้าง ทุกคนอาจจะไม่เคยสังเกต เพราะพุกนั้นมักจะถูกฝังถูกซ่อนเพื่อความสวยงาม แต่พุกเหล็กนั้นอยู่ในแทบจะทุกอาคาร บ้านเรือน หรือแม้แต่สถานนีรถไฟฟ้า เพราะพุกนั้นจะถูกใช้ในทุกๆ ที่ ที่ต้องการติดตั้งวัตถุต่างๆ เช่น ราวบันได รั้ว หรือ ใช้แขวนระบบท่อไฟฟ้า ท่อน้ำ ลงบนพื้น / ผนัง / โครงสร้างคอนกรีต ในบทความนี้ ผม Fastenic จะมาแนะนำว่า พุกเหล็กนั้นทำงานอย่างไร ควรเลือกใช้อย่างไร จึงจะเหมาะสมกับการใช้งาน กันนะครับ

พุกเหล็ก ใช้งานอย่างไร

 

พุกเหล็ก ส่วนใหญ่แล้วมีหลักการทำงานที่ไม่ซับซ้อน กล่าวคือ เพิ่มความแน่นในการติดตั้ง ด้วยการขยายตัว หรือ เบ่งตัวออก หลังจากที่พุกถูกฝังลงไปในรูคอนกรีตแล้วนั่นเอง โดยการทำให้พุกเบ่งนั้นก็มีได้หลากวิธี ตั้งแต่การขันด้วยประแจให้พุกค่อยเบ่งออก หรือ ตอกให้พุกเบ่งออกอย่างรวดเร็ว เพื่อให้พุกนั้นติดแน่นอยู่ในรูคอนกรีตที่เจาะเอาไว้ จากนั้นจึงนำวัตถุที่ต้องการจะติดตั้ง มาติดตั้งที่ตัวพุกที่ถูกฝังลงไปในคอนกรีตอีกทีนึงนั่นเอง

พุกเหล็ก มีข้อควรระวังในการติดตั้ง อย่างไรบ้าง

ข้อควรระวังในการเลือกใช้ และ ติดตั้งพุกเหล็กนั้น มีอยู่ 3 ข้อใหญ่ๆ คือ

1. เลือกการชุบ พุกเหล็ก ให้เหมาะสมกับงาน

ขึ้นชื่อว่า พุกเหล็ก ย่อมมาคู่กับสนิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยปกติ พุกเหล็ก ทุกชนิดทุกตัวจะมีการชุบ หรือ เคลือบผิว เพื่อเพิ่มความทนทานต่อสนิมอยู่แล้ว เราจึงควรเลือกวิธีการชุบที่เหมาะกับการใช้งาน โดยปกติ พุกเหล็ก ทั่วไปจะมีการชุบอยู่ 2 แบบคือ

- ชุบซิงค์ เป็นการเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า (Electroplated) ซึ่งจะมีความเงา สวยงาม มี 2 สี คือ ซิงค์รุ้ง (Yellow Zinc) และ ซิงค์ขาว (White Zinc) โดยทั้ง 2 สีมีความทนทานไม่แตกต่างกัน การชุบแบบนี้มีผิวชุบที่บาง ทำให้สามารถชุบพุกที่มีเกลียวขนาดเล็กได้ แต่ความทนทานต่อสนิม ของการชุบซิงค์ก็ไม่สูงเช่นกัน และทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดหรือด่างได้ไม่ดีนัก พุกที่ชุบซิงค์ จึงเหมาะกับงานติดตั้งภายในอาคาร และ ไม่ได้อยู่ในที่ที่มีความชื้นสูง

- ชุบ Hot Dip Galvanize การชุบแบบนี้คือการนำชิ้นงานจุ่มลงในบ่อสังกะสีร้อนๆ ทำให้ผิวชุบมีลักษณะ เป็นสีเทา หนา และ ด้าน โดยการชุบแบบนี้จะไม่สามารถชุบ พุกขนาดเล็กได้เพราะ ผิวเคลือบจะเข้าไปอุดในเกลียวทำให้ขันไม่สะดวก และ ชิ้นงานอาจเสียรูปได้เนื่องจากกระบวนการผลิตต้องผ่านความร้อนสูง พุก Hot Dip Galvanize หรือ HDG  จะทนทานต่อสนิม และ สภาวะกรดและด่าง ได้ดีกว่ามากจึงเหมาะกับงานติดตั้งภายนอก หรือ พื้นที่ที่ความชื้นสูงได้

2. ขนาด และ ความลึก ของรูคอนกรีต ที่จะฝัง พุกเหล็ก

การใช้งาน พุกเหล็ก นั้นต้องมีการเจาะรูบนคอนกรีต และ ทำการฝังพุกลงไป โดยขนาด และ ความลึก ของรูที่เจาะนั้นส่งผลต่อประสิทธิภาพการยึดเกาะของพุกอย่างมาก เช่น

เจาะรูใหญ่เกินไป จะทำให้เมื่อ พุกเหล็ก เบ่งตัวในรูคอนกรีตเต็มที่แล้วก็อาจจะไม่แน่น อีกทั้งด้านบนรูคอนกรีตก็จะเหลือพื้นที่ว่าง ให้ความชื้นสามารถซึมลงไปที่พุกได้ง่าย

เจาะรูเล็กเกินไป จะทำให้การตอกฝังพุก ก่อนที่จะขันเบ่งนั้นทำงานยาก และการตอกที่แรงเกินไป อาจจะทำให้พุกเสียรูป หรือเกลียวของพุกเกิดการบีบตัวเสียหาย ทำให้การขันเบ่งนั้นทำได้ไม่เติมที่

ก่อนติดตั้ง จึงควรเช็ค spec ขนาดของรูเจาะ ของพุกรุ่นนั้นๆ จากบรรจุภัณฑ์ หรือ ข้อมูลจากผู้ผลิต เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการติดตั้งนั้นจะยึดแน่นเต็มประสิทธิภาพ

3. การทำความสะอาดรูคอนกรีต ก่อนติดตั้ง พุกเหล็ก

ทุกครั้งที่มีการเจาะคอนกรีต จะมีฝุ่นผงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าฝุ่นคอนกรีตเหล่านี้ ส่งผลต่อการติดตั้ง พุกเหล็ก เป็นอย่างมาก โดยหากไม่มีการเป่าฝุ่นเหล่านี้ออกจากรู ตัวฝุ่นเองจะไปกองที่ก้นรูคอนกรีต ทำให้การตอกฝังพุกนั้น ไม่ได้ตามความลึกที่เจาะเอาไว้ ทำให้ประสิทธิภาพการยึดลดลง อีกทั้งฝุ่นผงที่ติดตามผิวรู ก็จะส่งผลให้ผิวมีความลื่น และทำให้การขันเบ่งทำได้ยาก เพราะพุกจะหมุนไปตามแรงขันได้ง่ายทำให้ไม่สามารถเบ่งได้เต็มประสิทธิภาพ

เมื่อรู้ดังนี้แล้ว หลังทำจากเจาะรูคอนกรีตแล้ว ก่อนติดตั้งต้องทำการ เป่าฝุ่นออกด้วยปืนฉีดลม หรือ เครื่องมือเป่าลมอื่นๆ และให้ดีที่สุดควรทำการขัดฝุ่นออกด้วยแปรงที่มีลักษณะ เหมือนแปรงทำความสะอาดขวด เพื่อให้ฝุ่นที่เกาะตามผิวคอนกรีตนั้นหลุดออกนั่นเอง อย่าลืมทำความสะอาดรูคอนกรีตก่อนติดตั้งทุกครั้งนะครับ เพื่อความปลอดภัยในการติดตั้งครับ

ก็จบกันไปแล้วนะครับกับข้อมูลเบื้องต้นของ พุกเหล็ก ไม่ว่าจะเป็น การใช้งาน หรือ ข้อควรระวังในการติดตั้ง น้องพุก Fastenic ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่สนใจ หรือ กำลังเลือกซื้อพุกเพื่อใช้งานนะครับ โดย พุกเหล็ก ของฟาสเทนนิคเองก็มีหลากหลายรุ่น แต่ละรุ่นต่างกันอย่างไร เอาไว้ Fastenic จะนำมาแนะนำกันใน บทความต่อๆ ไปนะครับ สามารถเลือกดู พุกเหล็ก รุ่นต่างๆ และ ข้อมูล Spec ทั้งขนาดรูเจาะ และ การรับแรง ของพุกฟาสเทนนิคได้ ในรูปด้านล่างเลยนะครับ

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

WA-HDG

พุกเว็ดจ์ ชุบฮอทดิป รุ่น WA-HDG

พุกเว็ดจ์ ชุบฮอทดิป รุ่น WA-HDG

พุกเว็ดจ์ ชุบฮอทดิป รุ่น WA-HDG

WA

พุกเว็ดจ์ รุ่น WA

พุกเว็ดจ์ รุ่น WA

พุกเว็ดจ์ รุ่น WA

ST-HDG

พุกเหล็ก สตัดโบลท์ ชุบฮอทดิป รุ่น ST-HDG

พุกเหล็ก สตัดโบลท์ ชุบฮอทดิป รุ่น ST-HDG

พุกเหล็ก สตัดโบลท์ ชุบฮอทดิป รุ่น ST-HDG

ST

พุกเหล็ก สตัดโบลท์ รุ่น ST

พุกเหล็ก สตัดโบลท์ รุ่น ST

พุกเหล็ก สตัดโบลท์ รุ่น ST

พุกฟาสเทนนิค ผ่านการควบคุมคุณภาพ การผลิตที่ได้มาตรฐานสากล เราใส่ใจในคุณภาพของพุกทุกตัว เพราะเราให้ความสำคัญกับทุกความปลอดภัยในการติดตั้ง พุกฟาสเทนนิค จึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามากมาย มานานกว่า 30 ปี

สามารถติดตาม ข่าวสารสาระดีๆ เกี่ยวกับ พุก และ สลักภัณฑ์ อื่นๆ ได้ใน ช่องทาง Social Media อื่นๆ ของฟาสเทนนิคได้ที่นี่ linktree อย่าลืมนะครับ ติดตั้งปลอดภัย วิศวกรไว้ใจ ใช้ Fastenic 

บทความที่เกี่ยวข้อง

พุกเคมี ชนิดหลอดแก้วดีกว่าอย่างไร

พุกเคมี ชนิดหลอดแก้วดีกว่าอย่างไร

พุกตะกั่ว ที่ไม่ได้ทำจากตะกั่ว แล้วทำมาจากอะไร?

พุกตะกั่ว ที่ไม่ได้ทำจากตะกั่ว แล้วทำมาจากอะไร?

ความแตกต่างของระบบเกลียว Metric (เกลียวมิล) และ BSW (เกลียวหุน)

ความแตกต่างของระบบเกลียว Metric (เกลียวมิล) และ BSW (เกลียวหุน)