พุกเคมี ชนิดหลอดแก้วดีกว่าอย่างไร

พุกเคมี Chemical Anchor หรือ Adhesive Anchor เป็นพุกที่รับแรงดึงได้สูงมาก และ สามารถติดตั้งใกล้ขอบคอนกรีตได้มากกว่า พุกเคมี ทำได้อย่างไร ในบทความนี้ Fastenic จะพาทุกคนไปรู้จักกับ พุกเคมี ให้มากขึ้น ถึงหลักการการทำงาน และพุกเคมีชนิดต่างๆ แต่ละอย่างมี ข้อดี ข้อควรระวัง อย่างไรบ้าง เพื่อให้ทุกคนสามารถเลือกใช้ พุกเคมี ได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการยึดเกาะที่สูงสุด นะครับ

พุกเคมี คืออะไร ทำงานอย่างไร แตกต่างจาก พุกเบ่ง ทั่วไปอย่างไร

พุกเคมี Chemical Anchor คือพุกที่ใช้สารเคมี ประเภท เรซิ่น หรือ Epoxy ในการยึดจับ คล้ายๆ กับกาวนั้นเอง จึงจะแตกต่างกับ พุกเบ่ง หรือ Mechanical Anchor ที่ใช้หลักการการแบ่งตัวให้คับรูคอนกรีต เพื่อการยึดเกาะ โดยเมื่อใช้ พุกเคมี ในรูคอนกรีตจะไม่มีแรงอัด แรงเครียด จากการเบ่งตัว จึงลดโอกาสการแตกร้าวในรูคอนกรีตได้ดี จึงทำให้สามารถติดตั้งใกล้ขอบคอนกรีตได้มากกว่า

อีกทั้งเคมีลักษณะคล้ายกาวคลุมทั้งรูคอนกรีตและสตัดจนถึงปากรู ทำให้ความชื้นไม่สามารถซึมเข้าในรูคอนกรีตได้เลย ทั้งจากปากรูหรือจากเนื้อคอนกรีตด้านล่าง ช่วยยืดอายุการใช้งานของสตัดได้มาก พุกเคมี จึงมีราคาสูง และ ส่วนมากจะใช้ในงานที่ต้องรับแรงสูง เช่น งานฐานราก หรือ งานโครงสร้าง

พุกเคมี มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร

พุกเคมีโดยทั่วไปแล้ว จะใช้เคมีที่ต้องมีการใช้ตัวทำแข็ง หรือ Hardener เพื่อเร่งปฏิกิริยาให้เคมีนั้นแข็งตัวได้เร็วขึ้น เพื่อความสะดวกในการใช้งาน พุกเคมีจึงมีบรรจุภัณฑ์หลากหลายแบบ เพื่อให้เกิดการผสมกันของตัวเคมี และ Hardener โดยแต่ละประเภทก็จะมีการใช้งานที่แตกต่างกัน และ มีข้อดี และ ข้อควรระวังที่แตกต่างกันเช่นกัน โดยหลักๆ แล้ว พุกเคมีจะมีอยู่ 3 ประเภท คือ พุกเคมีแบบฉีด พุกเคมีถุงฟรอย และ พุกเคมีหลอดแก้ว

1. พุกเคมี แบบฉีด (Chemical Injection Anchor)

พุกเคมี แบบฉีด จะมีลักษณะเป็นหลอด ต้องใช้ปืนฉีดในการยิงเคมีและตัวทำแข็งออกจากหลอดลงไปในรูคอนกรีต แล้วจึงค่อยใส่สตัดลงไปในรูคอนกรีต และรอให้เคมีแห้ง โดยมากตัวหลอดจะมีปากหลอดที่ทำการผสมเคมี และ ตัวทำเข็งให้เข้ากันก่อนที่เคมีจะออกจากปากหลอด ดังนั้นสำหรับ พุกเคมีประเภทนี้ ในการเริ่มใช้เคมีหลอดใหม่ ต้องมีการฉีดเคมีออกใส่บนกระดาษลัง หรือ วัสดุอื่นก่อน ให้สีของเคมีที่ออกมานิ่งแล้ว หรือมีสีตามที่คู่มือกำหนด จึงจะพร้อมใช้ หากไม่ทำเช่นนี้ ก็จะทำให้เคมีที่ลงไปในรูไม่ได้ถูกผสมตัวทำแข็งอย่างดี และทำให้เคมีไม่เข็งตัว และไม่สามารถรับแรงได้

ข้อดี: พุกเคมีประเภทนี้ จะมีราคาที่ย่อมเยากว่า และ เก็บรักษาค่อนข้างง่าย เพราะเคมีจะอยู่ในหลอดที่ไม่โดนแสง ทำให้เก็บได้นาน

ข้อควรระวัง: พุกเคมีแบบฉีด จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในการใช้งานพอสมควร และ ต้องใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธี จึงจะได้การยึดเกาะที่สมบูรณ์ นอกจากการต้องฉีดเคมีออกมาให้เคมีผสมตัวทำแข็งให้ดีก่อนแล้ว เนื่องการฉีดนั้นผู้ติดตั้งต้องกะปริมาณการฉีดในแต่ละรูเอง หากมีการฉีดเคมีลงไปไม่เพียงพอ หรือ ฉีดแล้วมีรูอากาศในรู ก็จะทำให้แรงยึดเกาะนั้นลดลง จึงควรศึกษาวิธีการใช้งาน และ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการติดตั้งอย่างระมัดระวังก่อนติดตั้ง

2. พุกเคมี แบบถุงฟรอย (Foil Capsule Chemical Anchor)

พุกเคมีแบบถุงฟรอย นั้นจะบรรจุเคมี และ ตัวทำเข็ง ลงในถุงฟรอย การติดตั้งทำได้โดยการใส่พุกเคมีลงในรูคอนกรีต และใช้การปั่นสกรูที่ต้องการติดตั้งลงไปในรูคอนกรีต เพื่อทำให้ถุงบรรจุฉีกขาด และ เคมีด้านในสามารถผสมกับตัวทำเข็งอย่างทั่วถึง เมื่อเคมีแข็งตัวสกรูก็จะยึดแน่นกับรูคอนกรีต

ข้อดี: การติดตั้งจะง่ายกว่าไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เฉพาะ และ ปริมาณเคมีที่ใช้ในการยึดก็จะถูกคำนวณ ให้เหมาะกับ ขนาดรูคอนกรีต และ ขนาดสกรู ที่ระบุมาจากผู้ผลิต และ เนื่องจากเคมีถูกบรรจุในถุงฟรอย ที่แสงแดดไม่สามารถเข้าไปได้ การเก็บรักษาจึงง่ายกว่า และ เก็บได้ยาวนานกว่า

ข้อควรระวัง: ตัวถุงฟรอยนั้น หากถูกปั่นในรูคอนกรีตที่มีความชื้น จะมีโอกาสทำให้ตัวถุงที่ถูกปั่นนั้นจับตัวเป็นแผ่น หรือ เป็นก้อน ทำให้ลดทอนการยึดเกาะได้ และ หากรูคอนกรีตมีฝุ่นเกาะอยู่ฝุ่นเหล่านั้น ก็จะเป็นฟิล์มระหว่างตัวเคมีและผิวรู ทำให้การยึดเกาะลดลงเช่นกัน จึงต้องแน่ใจว่าทำความสะอาดรูคอนกรีตอย่างดี และ ปราศจากความชื้นในการติดตั้งพุกเคมี ประเภทนี้

3. พุกเคมี แบบหลอดแก้ว (Glass Capsule Chemical Anchor)

 

พุกเคมี หลอดแก้ว เป็นพุกเคมีที่บรรจุเคมีและตัวทำแข็งไว้ในหลอดแก้ว ติดตั้งทำได้โดยการใส่พุกเคมีลงในรูคอนกรีต และใช้การปั่นสกรูที่ต้องการติดตั้งลงไปในรูคอนกรีต เช่นเดียวกับพุกแบบถุงฟรอย ข้อแตกต่างคือ ตัวหลอดแก้วนั้นเมื่อถูกปั่นจนแตกละเอียดแล้ว ตัวแก้วเองที่ถูกปั่นจะเป็นตัวไปขูดรูคอนกรีต เพื่อเป็นการทำความสะอาดฝุ่นที่ยังตกค้างอยู่ ทำให้เคมียืดเกาะกับรูได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั่นเอง

ข้อดี: ติดตั้งง่าย ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ หรืออุปกรณ์เฉพาะ เมื่อติดตั้งแล้วไม่ทิ้งขยะเคมีเหมือนพุกเคมีแบบฉีด สามารถยึดเกาะกับรูคอนกรีตที่ใช้สว่านหัวเพชร ที่ผิวรูเรียบได้ดี

ข้อควรระวัง: การเก็บรักษาพุกค่อนข้างยาก ควรเก็บในที่มืดสนิท และไม่ร้อนจนเกินไป การขนส่งต้องทำอย่างระมัดระวัง เนื่องจาก แคปซูลมีโอกาสแตกเสียหายได้หากถูกกระแทกอย่างแรง

ก็จบไปแล้วนะครับกับบทความความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ พุกเคมี ว่าพุกเคมี นั้นทำงานอย่างไร มีกี่แบบแต่ละแบบมีข้อดี และ ข้อควรวระวังอย่างไรบ้าง สุดท้ายนี้ก็ฝาก พุกเคมี Fastenic รุ่น CM ไว้ด้วยนะครับ พุกเคมี CM Fastenic เป็นพุกเคมีหลอดแก้ว ผลิตจากประเทศ เนเธอแลนด์ โดยบริษัท B+BTec หรือเป็น พันธมิตรการค้ากับเรา เป็นพุกเคมี ที่ติดตั้งง่าย ปริมาณเคมีถูกคำนวณอย่างเหมาะสม ไม่ต้องการอุปกรณ์ หรือ เทคนิคเฉพาะในการติดตั้ง เมื่อติดตั้งแล้วไม่ทิ้งขยะเคมี ที่ต้องมากำจัดในภายหลังอีกด้วย 

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

AS-88

สตัดแองเคอร์ เหล็กแรงดึงสูง รุ่น AS-88

สตัดแองเคอร์ เหล็กแรงดึงสูง รุ่น AS-88

สตัดแองเคอร์ เหล็กแรงดึงสูง รุ่น AS-88

AS-SUS

สตัดแองเคอร์ สแตนเลส รุ่น AS-SUS

สตัดแองเคอร์ สแตนเลส รุ่น AS-SUS

สตัดแองเคอร์ สแตนเลส รุ่น AS-SUS

AS

สตัดแองเคอร์ รุ่น AS

สตัดแองเคอร์ รุ่น AS

สตัดแองเคอร์ รุ่น AS

CR

พุกเคมี สำหรับ เหล็กข้ออ้อย รุ่น CR

พุกเคมี สำหรับ เหล็กข้ออ้อย รุ่น CR

พุกเคมี สำหรับ เหล็กข้ออ้อย รุ่น CR

CM

พุกเคมี รุ่น CM

พุกเคมี รุ่น CM

พุกเคมี รุ่น CM

สามารถดูข้อมูล Spec สินค้าฟาสเทนนิค ได้ใน Website สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องต่างๆ ได้ทาง LINE OA : @Fastenic ได้เลย สามารถเข้าถึงช่องทาง Social Media อื่นของทาง Fastenic ได้ที่ linktree ได้เลยครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำความรู้จักกับพุกเหล็ก

ทำความรู้จักกับพุกเหล็ก

พุกตะกั่ว ที่ไม่ได้ทำจากตะกั่ว แล้วทำมาจากอะไร?

พุกตะกั่ว ที่ไม่ได้ทำจากตะกั่ว แล้วทำมาจากอะไร?

ความแตกต่างของระบบเกลียว Metric (เกลียวมิล) และ BSW (เกลียวหุน)

ความแตกต่างของระบบเกลียว Metric (เกลียวมิล) และ BSW (เกลียวหุน)